ผังเมืองรวมจังหวัดแม่ฮ่องสอนนั้นใช้ขอบเขตเดียวกับขอบเขตของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนั้นขอบเขตผังเมืองรวมจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 12,681.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,925,812.5 ไร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ 45 ตำบล 415 หมู่บ้าน 1องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล และ 42 องค์การบริหารส่วนตำบล
แนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเป็นการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรในอนาคต โดยกำหนดให้มีการขยายตัวในพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับชุมชนเดิม พิจารณาให้กิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดตามสภาพที่ควรจะเป็น โดยคำนึงถึงสภาพปัจจุบันและแนวโน้มการขยายตัวของชุมชนในอนาคต การสงวนพื้นที่เกษตรกรรมไม่ให้เปลี่ยนการใช้ประโยชน์เกินความจำเป็น รวมทั้งกำหนดให้มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายระหว่างชุมชนตามความเหมาะสม ซึ่งในการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตนั้นต้องคำนึงถึงพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยที่ทำงานและสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้เพียงพอต่อประชากรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยประกาศเมื่อ พ.ศ.2546 จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 238,241 คน เป็นชาย 123,164 คน เป็นหญิง 115,077 คน ในอนาคตคือปี พ.ศ. 2568 จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเป็น 176,047 คนจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น 50,551 ครัวเรือน ซึ่งแต่ละครัวเรือนต้องมีพื้นที่ใช้สอย 120 ตารางเมตร รวมต้องเพิ่มการใช้พื้นที่ 3,791.3 ไร่ หรือ 6.066 ตารางกิโลเมตร ดังนั้นในการวางผังเมืองรวมจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงเน้นการวางผังพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ของเมืองเดิม และควบคุมการเติบโตของเมืองไม่ให้เมืองขยายตัวเข้าไปบุกรุกทำลายทรัพยากรและพื้นที่เกษตรกรรม
1. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและจัดสรรให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
2. การส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความสามารถในการรองรับ(CarryingCapacity)ของทรัพยากรการท่องเที่ยว
3. การส่งเสริมประชากรให้เกิดความภาคภูมิใจในถิ่นที่อยู่และคุณค่าของวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และยอมรับในความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
4. การส่งเสริมธุรกิจการค้าชายแดนให้เป็นตลาดการค้าที่มีคุณภาพเพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัด
1. มีการจัดการบริหารการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ทรัพยากรและพลังงาน
2. มีการรักษาสภาพแวดล้อมเมืองให้คงคุณค่าและเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม
3. สังคมมีความเข้มแข็ง สงบสุข ปลอดภัย ประชาชนมีความผาสุก และได้รับการจัดสรรปัจจัยพื้นฐานอย่างทั่วถึง
4. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดการอย่างชาญฉลาด
5. ประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจระดับต่างๆโดยทั่วถึง เศรษฐกิจระดับชุมชนมีรากฐานแข็งแรง ภาคเกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารบนแนวคิดการเกษตรยั่งยืน ได้พอเพียงกับการบริโภคภายในจังหวัด
6. มีภาคการท่องเที่ยว ภาคธุรกิจการค้าชายแดน และธุรกิจต่อเนื่อง เป็นกลไกขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของจังหวัด
7. การท่องเที่ยวมีความหลากหลายและมีการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. มีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและเอื้อต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพื้นที่
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
|
กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ.2560.PDF
จำนวนดาวน์โหลด
0 ครั้ง
|
ขนาดไฟล์ 4.289 MB
|
ดาวน์โหลด |
121/7 ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โทรศัพท์ |
0-5361-2055 | |
โทรสาร |
0-5361-3061 |
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 โดย กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย